จากที่มีการเผยแพร่ของข้อมูลที่ว่า หนังสือเรียนวิชาอิสลาม สอนไม่ให้ไหว้ผู้มีพระคุณเพราะผิดหลักศาสนานั้น จากการตรวจสอบพบว่าไม่จริงแต่อย่างใด (29 มิ.ย. 2565) ตามที่ได้มีการบอกต่อข้อมูลในสื่อออนไลน์ต่างๆ เรื่องหนังสือเรียนวิชาอิสลาม ระบุห้ามไหว้ผู้มีพระคุณเพราะผิดหลักศาสนา ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ
จากกรณีที่มีการโพสต์ข้อความโดยระบุว่าหนังสือเรียนวิชาอิสลาม
ในเนื้อหาสาระส่วนหนึ่งระบุว่าห้ามไหว้พ่อแม่ ห้ามไหว้ครูอาจารย์ ห้ามไหว้พระ ห้ามไหว้พระราชา และห้ามไหว้ผู้มีพระคุณ ทางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า เรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริง หนังสือเรียนดังกล่าวไม่มีเนื้อหาสาระส่วนใดส่วนหนึ่งที่ระบุว่าห้ามไหว้พ่อแม่ ห้ามไหว้ครูอาจารย์ ห้ามไหว้พระ ห้ามไหว้พระราชา ห้ามไหว้ผู้มีพระคุณ
โดยหนังสือเรียนอิสลามศึกษาตามที่กล่าวอ้าง ได้จัดทำขึ้นสำหรับผู้เรียนที่นับถือศาสนาอิสลามให้ได้นำไปใช้ในการเรียนรู้ในสาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สำหรับเนื้อหาสาระภายในเล่ม มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนได้มีความรู้ ความเข้าใจ เป็นการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม เพื่อเป็นพื้นฐานในการนำไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตร่วมกันในสังคม พหุวัฒนธรรมได้อย่างสันติสุข
อย่างไรก็ตาม ศาสนาอิสลามไม่ได้ห้ามการไหวเมื่อมีการพบปะหรือจากลากับบุคคลต่างศาสนา เพราะตระหนักดีว่าการไหว้เป็นมารยาทไทย เป็นวัฒนธรรมการทักทายแบบไทยที่แสดงออกถึงความมีสัมมาคารวะและเป็นการให้เกียรติซึ่งกันและกัน แต่ศาสนาอิสลามห้ามการก้มกราบหรือกราบไหว้บูชาทุกสรรพสิ่ง
ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.obec.go.th หรือโทร. 02 2885511
บทสรุปของเรื่องนี้คือ : เรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริง หนังสือเรียนดังกล่าวไม่มีเนื้อหาสาระส่วนใดส่วนหนึ่งที่ระบุว่าห้ามไหว้พ่อแม่ ห้ามไหว้ครูอาจารย์ ห้ามไหว้พระ ห้ามไหว้พระราชา ห้ามไหว้ผู้มีพระคุณ
ประชุม ศบค. 8 ก.ค. เล็งปรับเพิ่มหรือลดมาตรการ ตาม BA5
จับตาวันที่ 8 ก.ค. ประชุม ศบค. เพื่อหารือมาตรการโควิด เล็งปรับเพิ่มหรือลดมาตรการความเข้มงวด รับโควิด BA.5 พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ได้แถลงถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ในขณะนี้ยอดผู้ป่วยขยับเพิ่มขึ้นเนื่องจาก โควิดโอมิครอน BA.5 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่หลายฝ่ายมองว่าจะเข้ามาแทน BA.2 ที่เป็นสายพันธุ์หลัก
พญ.อภิสมัย ระบุว่า ทาง ศบค.ชุดใหญ่ จะประชุมพิจารณาทบทวนมาตรการต่างๆ ในวันที่ 8 ก.ค. นี้ ว่าจะปรับขึ้นลงหรือไม่อย่างไร ทั้งนี้การเปลี่ยนผ่านต้องค่อยเป็นค่อยไป ไม่เป็นไปแบบก้าวกระโดด ทั้งนี้จากฐานข้อมูลขององค์การอนามัยโลก ยังไม่พบความรุนแรงเท่าสายพันธุ์เดลต้า
ขณะที่ในประเด็นอื่นๆ โฆษก ศบค. ระบุว่า แม้จะว่าจะมีผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น รวมถึงผู้ป่วยปอดอักเสบที่มากขึ้นแต่ยังเป็นไปตามคาดการณ์ไว้ อัตรการครองเตียงระดับ 2-3 ทั่วประเทศ ประมาณ 9% มีเพียง จ.สมุทรปราการ เท่านั้นที่อัตราการครองเตียงระดับ 2-3 เกิน 20% โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่มารับบริการแบบผู้ป่วยนอก การรักษาในโรงพยาบาลและศูนย์พักคอย (CI) ลดน้อยลง อย่างไรก็ตาม ศบค.ชุดเล็ก ให้ความสำคัญกับผู้เสียชีวิตโดยตรงจากโรคโควิด ซึ่งผู้เสียชีวิตรายใหม่ 14 คน พบว่า 100% เป็นกลุ่มเสี่ยง 608 ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนและไม่ได้รับเข็มกระตุ้น
ขณะนี้ต้องเร่งรณรงค์ให้ประชาชนออกมารับวัคซีนเข็มกระตุ้น ซึ่งในภาพรวมฉีดแล้ว 29.6 ล้านคน ครอบคลุม 42.3% และพบว่ามีเพียง 4 จังหวัดเท่านั้น ที่วัคซีนเข็มกระตุ้นฉีดครอบคลุมเกิน 60% ได้แก่ กทม. นนทบุรี สมุทรปราการ และภูเก็ต ทั้งนี้หลังการผ่อนคลายมาตรการ ในพื้นที่โล่งแจ้งให้สวมแมสก์ตามความสมัครใจ แต่ขอให้ประชาชนติดตามประกาศในแต่ละพื้นที่ ซึ่งสามารถยกระดับมาตรการในพื้นที่ได้ตามสถานการณ์ระบาด
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ให้ยกเลิกประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง กำหนดกรณีที่มีเหตุสมควรและอัตราค่าใช้จ่ายที่หน่วยบริการมีสิทธิได้รับ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2564 ลงวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2564
ให้ยกเลิกประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง กำหนดกรณี ที่มีเหตุสมควรและอัตราค่าใช้จ่ายที่หน่วยบริการมีสิทธิได้รับ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2564 ลงวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2564
ทั้งนี้ ประกาศ สปสช.เรื่อง กำหนดกรณีที่มีเหตุสมควรและอัตราค่าใช้จ่ายที่หน่วยบริการมีสิทธิได้รับ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2564 นั้น เนื้อหาสำคัญคือ “ข้อ 5/4 การเข้ารับบริการตรวจคัดกรอง บริการตรวจทางห้องปฏิบัติการยืนยันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) สำหรับการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคตามดุลยพินิจของแพทย์ ในสถานบริการอื่น ให้ถือเป็นกรณีที่มีเหตุสมควร”
อัตราค่าใช้จ่ายที่สถานบริการอื่นได้ให้บริการแก่ผู้มีสิทธิตามข้อ 5/4 มีสิทธิได้รับให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ ประจำปีงบประมาณนั้น ๆ”
Credit : ที่เที่ยวญี่ปุ่น | จัดอันดับต่างๆ | รีวิวของแบรนเนม | วิธีการลงทุนต่าง